วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

มารยาท ระเบียบ เเละข้อบังคับในการใช้อินเทอร์เน็ต

6.มารยาท ระเบียบ เเละข้อบังคับในการใช้อินเทอร์เน็ต
             บัญญัติ 10 ประการ
       1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือ ละเมิดผู้อื่น
       2. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์รบกวนการทำงานของผู้อื่น
       3. ต้องไม่สอดเเนม เเก้ไข หรือ เปิดดูเเฟ้มข้อมูลของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาติ
       4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
       5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
       6. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์คัดลอกหรือใช้โปรเเกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาติ
       7. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
       8. ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
       9. ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันเป็นผลมาจากการกระทำของตน
       10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎ ระเบียบ กติกา เเละมีมารยาทของหน่วยงาน สถาบันหรือสังคมนั้นๆ

คุณธรรมเเละจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต

5. คุณธรรมเเละจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต
           อินเทอร์เน็ตย่อมส่งผลกระทบทั้งทางบวกเเละทางลบต่อสังคม
        5.1  ผลกระทบทางบวก
                  1) ทำให้มีความสะดวกในการติดต่อสื่อสารในเครือข่ายขนาดใหญ่ กล่าวคือ ทำให้คนในสังคมติดต่อสื่อสารได้ทุกสถานที่ ทุกเวลา
                  2) ช่วยพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน เช่น การติดต่อสื่อสารผ่านอีเมล์ การประชุมทางไกลผ่านเครือข่าย
                  3) ช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษา ทำให้เกิดการศึกษารูปเเบบใหม่ีที่กระตุ้นความสนใจของผู้เรียนให้เกิดความสนุกในการเรียนรู้ อีกทั้งทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ได้เเก่ ระบบการเรียนทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต
        5.2  ผลกระทบทางลบ
                  1) ก่อให้เกิดความเครียดของคนในสังคม
                  2) เกิดการเเลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจากสังคมหนึ่งไปอีกสังคมหนึ่ง
                  3) เกิดช่องว่างระหว่างคนในสังคม
                  4) เกิดการละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล
                  5) อาจก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์

การใช้บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต

4. การใช้บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต
               อินเทอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้เกิดการสื่อสารไร้พรมเเดน กล่าวคือ ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วโลก สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ไม่จำกัดสถานที่เเละเวลา ดังนั้น จึงมีการนำอินเทอร์เน็ตไปประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท
      4.1 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล  เป็นบริการที่ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากผู้ใช้งานสามารถรับส่งข้อความเพื่อติดต่อเเลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร กับ บุคคลอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็วกว่าการใช้บริการระบบไปรษณีย์เเบบดั้งเดิม นอกจากนี้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ยังสามารถส่งข้อมูลในรูปแบบอื่นๆ นอกเหนือจากตัวอักษรได้อีกด้วย เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง เป็นต้น เเนบไปได้อีกด้วย
                  รูปแบบการใช้งานไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบัน มีดังนี้
          1. เว็บเมล    เป็นบริการรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ผ่านโปรเเกรมเว็บบราวเซอร์ื
          2. พ๊อปเมล  เป็นบริการรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์โดยใช้โปรเเกรมจัดการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
      4.2 การโอนย้ายเเฟ้มข้อมูล เป็นการโอนเเฟ้มข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง ซึ่งอาจอยู่ใกล้หรือไกลกัน ในการโอนย้ายเเฟ้มข้อมูล เรียกว่า เครื่องต้นทาง ซึ่งทำหน้าที่เป็นเครื่องลูกข่าย ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำการติดต่อไปเพื่อโอนย้ายเเฟ้มข้อมูลนั้นเรียกว่า เครื่องปลายทาง ทำหน้าที่เป็นเครื่องเเม่ข่าย ซึ่งผู้ใช้งานโปรเเกรมที่เครื่องต้นทางจะต้องระบุชื่อเครื่องหรือหมายเลขไอพีของเครื่องปลายทางที่ต้องการใช้บริการ
                  การโอนย้ายเเฟ้มข้อมูล  มีการทำงาน 2 ลักษณะ คือ
             1. get เป็นการโอนย้ายเเฟ้มข้อมูลจากเครื่องปลายทางมายังเครื่องต้นทาง
             2. put เป็นการโอนย้ายเเฟ้มข้อมูลจากเครื่องต้นทางมายังเครื่องปลายทาง

                  การบริการโอนย้ายเเฟ้มข้อมูล มี 2 ลักษณะ ได้เเก่
              1.การบริการโอนย้ายข้อมูลด้วยโปรเเกรมโอนย้ายข้อมูล ทั้งที่เป็นเเบบเเจกฟรี เเละเเบบให้ทดลองใช้ก่อน
              2. โอนย้ายเเฟ้มข้อมูลผ่าน Web Brouser
                 การเเลกเปลี่ยนข่าวสารเเละความคิดเห็น เป็นบริการเเลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การอภิปรายเเละเเสดงความคิดเห็นร่วมกันของผู้คนในสังคมผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งเเนวโน้มล่าสุดของการใช้อินเทอร์เน็ต คือ ใช้เป็นเเหล่งพบปะสังสรรค์เพื่อสร้างเครือข่ายทางสังคม
                           1) ยูสเน็ต เป็นบริการในลักษณะกลุ่มสนทนาที่เเลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
                           2) บล็อก ย่อมาจากคำว่า เว็บบล็อก เป็นเว็บไซต์ที่ใช้เขียนบันทึกเรื่องราว โดยเรียงลำดับตามเวลา เพื่อสื่อสารความรู้สึก มุมมอง  ประสบการณ์ ความรู้ เเละ ข่าวสาร โดยจะเเสดงข้อมูลทีเขียนล่าสุดไว้ส่วนบนสุดของเว็บไซต์ หรือบางครั้งอาจเรียกว่า ไดอารีออนไลน์
         4.4 การสนทนาผ่านอินเทอร์เน็ต  เเบ่งเป็นสองกลุ่ม
                  1) การสนทนาเป็นกลุ่ม
                  2) การสนทนาระหว่างผู้ใช้โดยตรง
         4.5 บริการค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต  การค้นหาข้อมูลในอดีตนักเรียนต้องเดินทางไปห้องสมุด เพื่อหาหนังสือ เเต่ปัจจุบันมีอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นเเหล่งข้อมูลขนาดใหญ่่
                  1) เว็บไซต์ที่มีเครื่องมือหรือโปรเเกรมค้นหา  เ่ป็นเว็บไซต์ที่สามารถให้ผู้ใช้หาข้อมูลโดยระบุคำสำคัญ

การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต

3. การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต
         การเชื่อมเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตที่นิยมใช้สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปหรือหน่วยงานขนาดเล็กจะใช้การเชื่อมต่อเเบบหมุนโทรศัพท์ ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อเเบบชั่วคราวหรือเฉพาะบางเวลา ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ผ่านสายโทรศัพท์ มีดังนี้
         1. เครื่องคอมพิวเตอร์  เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้ในการส่งเเละรับข้อมูล
         2. เว็บบราวเซอร์  เป็นโปรเเกรมที่ใช้ในการดึงข้อมูลมาจากเว็บเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งจัดเก็บอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า HTML เเละเเปลความหมายของรูปเเบบข้อมูล ที่ได้กำหนดเอาไว้เพื่อนำเสนอเเก่ผู้ใช้
         3. หมายเลขโทรศัพท์เเละสายโทรศัพท์ สำหรับเป็นสื่อกลางในการส่งข้อมูลข่าวสาร โดยผู้ใช้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการโทรศัพท์เพียง 3 บาทต่อครั้งของการต่อเชื่อม
         4. โมเด็ม เป็นอุปกรณ์สำหรับเเปลงสัญญาณข้อมูลของคอมพิวเตอร์ซึ่งอยู่ในรูปแบบดิจิทัล ให้เป็นสัญญาณข้อมูลรูปแบบเเอนะล็อก เเละเมื่อเป็นผู้ส่งจะเเปลงสัญญาณข้อมูลรูปแบบอะนาล็อกให้เป็นดิจิตอล
         5. บริการชุดอินเทอร์เน็ตจากผู้ให้้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งเปิดโอกาศให้ผู้ใช้บริการสามารถเลือกขอเป็นสมาชิกเป็นรายเดือน รายปี หรือ อาจเป็นการซื้อชุดอินเทอร์เน็ตเเบบสำเร็จรูปโดยคิดค่าใช้บริการเป็นหน่วยชั่วโมง บริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เช่น ทีโอที กสท โทรคมนาคม ทีทีเเอนด์ที ล็อกอินโฟ เป็นต้น
             การเชื่อมต่อเเบบหมุนโทรศัพท์มีข้อดี คือ สะดวกเเละมีค่าใช้จ่ายต่ำ เเต่ก็มีข้อจำกัดด้านความเร็ว เเละการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตอาจหลุดได้หากมีสัญญาณรบกวนภายในสายโทรศัพท์


การทำงานของอินเทอร์เน็ต

2.การทำงานของอินเทอร์เน็ต
         เครือข่ายอินเทอร์เน็ตสามารถทำให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดหรือต่างขนาดกัน ที่เชื่อมต่อภายในเครือข่ายสามารถสื่อสารกันได้ จะต้องมีมาตราฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเป็นเเบบเดียวกันหรือใช้กฎเเละ ข้อตกลงเดียวกัน ซึ่งก็คือ โพรโทคอล
         อินเทอร์เน็ตสามารถส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานปลายทางได้มากกว่าหนึ่งเส้นทาง ซึ่งหากเส้นทางบางเส้นทางได้รับความเสียหายระบบเครือข่ายก็ยังคงสื่อสารกันได้ โดยเส้นทางที่เหลือเส้นทางอื่น ซึ่งการส่งข้อมูลดังกล่าวจะใช้หลักการของเครือข่ายเเบบเเพ็กเก็ตสวิตชิง กล่าวคือ ข้อมูลจะถูกเเบ่งเป็นกลุ่มๆ เเละส่งไปยังปลายทางโดยใช้เส้นทางต่างๆกัน ขึ้นอยู่กับปลายทางที่กำหนด






















ความหมายเเละพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต

1.ความหมายเเละพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต
           ปัจจุบันบริการบนอินเทอร์เน็ตมีหลากหลายรูปแบบ เช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) การพูดคุยออนไลน์ (talk) การซื้อขายสินค้าหรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ( e-Commerce) นอกจากนี้อินเทอร์เน็ตยังเป็นเเหล่งรวบรวมข้อมูลข่าวสารเเละสารสนเทศขนาดใหญ่ที่คลอบคลุมความรู้ทุกด้าน ดังนั้น อินเทอร์เน็ตจึงมีบทบาทสำคัญในการดำเนินชีวิตของคนเรา ตั้งเเต่การเรียน การทำงาน การซื้อสินค้า ตลอดจนการเเลกเปลี่ยนความรู้ของกลุ่มคนในสังคม











                      1.1 อินเทอร์เน็ต หมายถึง เครือข่ายของเครือข่ายซึ่งก็คือ การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย ทำให้เกิดเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่โยงใยกันทั่วโลก คอมพิวเตอร์เเต่ละเครื่องภายในเครือข่ายสามารถรับเเละส่งข้อมูลในรูปแบบต่างๆได้หลายรูปเเบบ เช่น ตัวอักษร ภาพกราฟฟิก ภาพเคลื่อนไหว เสียง เป็นต้น
                      1.2 พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต  การศึกษาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของสิ่งใดสิ่งหนึ่งช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้จากอดีตเพื่อเป็นบทเรียนสำหรับปัจจุบัน การศึกษาประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตก็เช่นเดียวกัน เป็นการสร้างความรู้เเละความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีการสื่อสาร ประโยชน์ เเละเเนวโน้ม ของเทคโนโลยีในอนาคตได้เป็นอย่างดีั้
                                   1) อินเทอร์เน็ตในต่างประเทศ ปี ค.ศ. 1969 หน่วยงานโครงการวิจัยขั้นสูง ARPA ของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้สนับสนุนงานวิจัยเทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยช่วงเเรกรู้จักกันในนาม"อาร์พาเน็ต"  เเบ่งออกเป็น 2 เครือข่าย คือ เครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยขั้นสูง เเละ เครือข่ายกองทัพ ได้มีการนำเครือข่ายทั้งสองมารวมกัน จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1984 เครือข่ายนี้ถูกเรียกว่า อินเทอร์เน็ต เเละใช้มาจนถึงปัจจุบัน  ปัจจุบันเครือข่ายอินเทอร์เน็ตถือเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ทุกคนสามารถเข้าใช้ระบบเครือข่ายได้อย่างกว้างขวาง เเละได้มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายในลักษณะของเครือข่ายอินทราเน็ต เเละเครือข่ายเอ็กทราเน็ต อีกด้วย
                                   2) อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2530 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เเละสถาบันเทคโนโลยีเเห่งเอเชีย ได้เชื่อมต่อเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยเเละสถาบันไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย โดยเป็นการเชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ซึ่งส่งข้อมูลได้ช้าเเละเป็นการเชื่อมต่อเเบบชั่วคราว